ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา หลายฝ่ายจับตาไปที่การเดินทางเยือนยุโรปอย่างเป็นทางการครั้งแรกในรอบ 5 ปีของสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน เพราะเกิดขึ้นในวันที่ยุโรปกำลังเผชิญกับสงครามในยูเครนและสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ

ล่าสุดเมื่อวานนี้ ผู้นำจีนได้ปิดท้ายทริปเยือนยุโรปด้วยการเดินทางไปยังกรุงบูดาเปสต์ เมืองหลวงของประเทศฮังการี พร้อมกับประกาศลงนามในข้อตกลงความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ในระดับสูงสุด และลงนามข้อตกลงด้านการลงทุนอีกเกือบ 20 ฉบับ

เมื่อวานนี้ สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน และวิกเตอร์ ออร์บาน นายกรัฐมนตรีฮังการี ได้หารือร่วมกันในกรุงบูดาเปสต์ เมืองหลวงของฮังการี ซึ่งถือเป็นการประชุมใหญ่ชุดสุดท้ายในทริปการเยือนยุโรปของผู้นำจีนหลังหารือร่วมกัน ทางการจีนและฮังการี ได้ลงนามข้อตกลงใหม่จำนวน 18 ฉบับเพื่อกระชับความร่วมมือทั้งทางด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรม นอกจากนี้ ทั้งสองชาติยังได้ยกระดับความสัมพันธ์ไปสู่ความร่วมมือเชิงกลยุทธ์แบบครอบคลุม หรือ comprehensive strategic partnership ซึ่งถือเป็นรูปแบบความสัมพันธ์ทวิภาคีที่แนบแน่นและมั่นคงที่สุดในบรรดาความร่วมมือทั้งหมด

ในการแถลงข่าวร่วมกันหลังพิธีลงนามความร่วมมือ ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ระบุว่า จีนกับฮังการีมีจุดยืนต่อสถานการณ์ระหว่างประเทศที่คล้ายกัน คือ มองว่าโลกมีหลายขั้วอำนาจ หรือมีประเทศมหาอำนาจหลายประเทศ

ขณะที่นายกฯ ออร์บานของฮังการี ก็ได้พูดถึงสถานการณ์โลกในทิศทางที่คล้ายกันกับผู้นำจีน โดยระบุว่า ตอนนี้โลกมีหลายขั้วอำนาจ ไม่ได้มีแค่สหรัฐฯ เหมือนในอดีต และหนึ่งในมหาอำนาจใหม่ที่จะมาร่วมนำโลก ก็คือ จีนคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

นอกจากนี้ นายกฯ ของฮังการียังได้กล่าวประณามชาติสมาชิก EU ด้วยกัน โดยระบุว่า ชาติสมาชิก EU ส่วนใหญ่สนับสนุนยูเครนทำสงคราม ในขณะที่ฮังการีพยายามหาทางทำให้เกิดข้อตกลงหยุดยิง และสนับสนุนแนวทางสร้างสันติภาพ สอดคล้องกับความคิดริเริ่มของประธานาธิบดีสี จิ้นผิงก่อนหน้าที่จะเดินทางเยือนฮังการีเป็นที่สุดท้ายของทริปเยือนยุโรป ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เพิ่งเสร็จสิ้นการเดินทางและกระชับความสัมพันธ์ครั้งใหญ่กับเซอร์เบีย ซึ่งเป็นชาติในกลุ่มรัฐบอลข่าน

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคมที่ผ่านมา ประธานาธิบดีสี ได้เดินทางเยือนกรุงเบลเกรด ประเทศเซอร์เบีย หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจเยือนกรุงปารีสของฝรั่งเศสการเยือนเซอร์เบียรอบนี้เกิดขึ้นในวันสำคัญ โดยเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ปี 1999 หรือเมื่อ 25 ปีก่อน องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือ นาโต ที่นำโดยสหรัฐฯ ทิ้งระเบิดใส่สถานทูตจีนในกรุงเบลเกรด ระหว่างทำสงครามยูโกสลาเวีย

ผลการโจมตีดังกล่าวทำให้นักข่าวชาวจีน 3 คนเสียชีวิต ซึ่งทำให้ทางการและประชาชนจีนโกรธเคืองต่อสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นอย่างมาก จนทำบิล คลินตัน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในเวลานั้น ต้องออกมาขอโทษอย่างเป็นทางการ

สำหรับการเยือนเซอร์เบียครั้งนี้ ผู้นำจีนได้หารือร่วมกับอเล็กซานเดอร์ วูวิก ประธานาธิบดีเซอร์เบีย และยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองชาติ ให้ขึ้นไปสู่ระดับความร่วมมือเชิงกลยุทธ์แบบครอบคลุมเช่นเดียวกับฮังการีตอนนี้ทั้งสองชาติมีความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรมร่วมกันมากถึง 22 ฉบับ นอกจากนี้ จีนและเซอร์เบีย ได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วม เพื่อสร้างสิ่งที่เรียกว่า ประชาคมจีน-เซอร์เบียที่จะมีอนาคตร่วมกัน หรือ China-Serbia community with a shared future in the new era นี่ทำให้เซอร์เบียเป็นชาติแรกในทวีปยุโรปที่ลงนามเข้าร่วมข้อตกลงนี้

ประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติคืออะไร คำนี้เป็นหลักการสำคัญเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างประเทศของรัฐบาลจีนในหนังสือปกขาว ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญที่แสดงนโยบายและวิสัยทัศน์สำคัญของจีนที่ส่งผลต่อภายในประเทศหรือประชาคมโลก หลักการนี้ได้ตอกย้ำความพยายามของจีน ในการวางตัวเป็นผู้นำด้านความร่วมมือในเวทีระหว่างประเทศ ซึ่งด้านหนึ่งคือการพยายามวางตัวเป็นหนึ่งในมหาอำนาจของโลก

คำถามคือ เหตุใดประธานาธิบดีจีนถึงเลือกฝรั่งเศส เซอร์เบีย และฮังการี เป็นหมุดหมายสำคัญในการเดินทางเยือนทวีปยุโรปเป็นครั้งแรกในรอบครึ่งทศวรรษ คำตอบสำคัญอาจอยู่ที่ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการขยายอำนาจของจีนในยุโรป ท่ามกลางความพยายามของ EU ในการลดการพึ่งพาด้านเศรษฐกิจจากจีน

สำหรับการเยือนฝรั่งเศส วาระหลักที่ประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ผู้นำของฝรั่งเศส หารือร่วมกับประธานาธิบดีสีอยู่ที่ประเด็นความขัดแย้งทางการค้าระหว่างจีนและยุโรป รวมถึงการริเริ่มทางการทูตที่เกี่ยวข้องกับสงครามยูเครน

ส่วนการเดินทางเยือนเซอร์เบีย วาระหลักของจีนจะอยู่ที่การพัฒนาความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางบกโดยเฉพาะระบบราง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จีนเป็นประเทศที่ลงทุนในเซอร์เบียมากที่สุด โดยบริษัทของจีนได้ลงทุนในโรงงานต่างๆ และอุตสาหกรรมเหมืองแร่ รวมถึงสร้างถนน และให้เงินสนับสนุนการก่อสร้างเส้นทางรถไฟ ที่เชื่อมระหว่างกรุงเบลเกรดของเซอร์เบีย และกรุงบูดาเปสต์ของฮังการี

ขณะที่การเดินทางเยือนฮังการี จีนมีวาระหลักเช่นเดียวกับการเยือนเซอร์เบีย คือ การพัฒนาความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า

ย้อนกลับไปเมื่อช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมา รัฐบาลฮังการีได้ประกาศว่า ประเทศของตนเอง เป็นหนึ่งในฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยเป็นของบริษัท Build Your Dream หรือ BYD นอกจากนี้ ฮังการียังเป็นสถานที่ตั้งของโรงงานแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าหลายแห่งของจีน และตั้งเป้าว่าจะกลายเป็นศูนย์กลางการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนระดับโลกด้วย

ทั้งนี้ แม้จีนจะร่วมมือกับฮังการีในลักษณะเดียวกับเซอร์เบีย แต่ก็มีข้อแตกต่างจากเซอร์เบียเล็กน้อย เพราะสำหรับจีน ฮังการีเป็นชาติสมาชิกของสหภาพยุโรป ทำให้จีนสามารถใช้ประเทศแห่งนี้ เป็นสะพานเข้าสู่สหภาพยุโรปได้โดยในทางกายภาพ จีนจะเข้าสู่สหภาพยุโรปผ่านโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง หรือ Belt and Road Initiative ซึ่งจะใช้โครงสร้างพื้นฐานของฮังการีเชื่อมต่อเข้ากับกับท่าเรือไพเรอุซในประเทศกรีซ ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของจีนที่นี่จะเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับสินค้าจีนในการตีตลาดยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก

ทั้งนี้ การเข้ามาของจีนได้สร้างความกังวลให้กับชาวฮังการีเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม ที่อาจเกิดขึ้นจากการตั้งโรงงานผลิตรถยนต์และแบตเตอรี่ ประชาชนในกรุงบูดาเปสต์ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า ฮังการีไม่สามารถคาดหวังเรื่องสิ่งแวดล้อมจากจีนได้ และรัฐบาลอาจเห็นว่าเศรษฐกิจของประเทศจำเป็นต้องมาก่อน

นอกจากผลประโยชน์ทางการค้าและการยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับชาติในยุโรปแล้ว นักวิเคราะห์มองว่า การเดินทางเยือนของผู้นำจีนในครั้งนี้ อาจเป็นการพยายามตอบโต้อิทธิพลของสหรัฐฯ ในยุโรปด้วยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

นักเศรษฐศาสตร์การเมืองบางส่วนมองว่า ความขัดแย้งทางการค้าภายในสหภาพยุโรปทำให้จีนมีโอกาสที่จะปรับใช้กลยุทธ์ ‘แบ่งแยกยุโรปและพิชิต’ และฮังการีถือเป็นเครื่องมือในการบรรลุเป้าหมายของจีน เนื่องจากฮังการีสามารถคัดค้านนโยบายต่างๆ ของสหภาพยุโรปที่อาจเป็นโทษต่อจีนได้ เพราะโดยปกติแล้ว การออกนโยบายของสหภาพยุโรปจะเป็นไปตามหลักการมติเอกฉันท์ หากชาติใดชาติหนึ่งคัดค้าน นโยบายดังกล่าวจะไม่สามารถเป็นจริงหรือถูกนำมาบังคับใช้ได้

การเดินทางมาถึงของผู้นำจีนในรอบ 5 ปี จึงถือเป็นความท้าทายของสหภาพยุโรป โดยเฉพาะในวันที่ต้องเผชิญกับทั้งสงครามใหญ่ในยูเครน และสงครามการค้าที่จีนพยายามแข่งขันกับสหรัฐฯ

By admin