กลิ่นเลือกตั้งยิ่งแรงเท่าไร!!! นโยบายเอาใจประชาชน จะเริ่มไหลบ่าเข้ามาเท่านั้น หนึ่งในนั้นหนีไม่พ้นการปรับขึ้น “ค่าแรงงานขั้นต่ำ” ที่กระทรวงแรงงาน ประกาศชัดแล้วว่า 13 ก.ย. 65 จะชงเข้าที่ประชุม ครม. แน่! เท่ากับว่า ตั้งแต่ 1 ต.ค.นี้ แรงงานประเทศไทย จะได้รับค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ 9 อัตรา แยกตามพื้นที่ ขั้นต่ำสุด 328 บาท สูงสุด 354 บาท หรือปรับขึ้น 3-7% เฉลี่ยประมาณ 327 บาท หรือ 5.02% กระจายแต่ละจังหวัดไม่เท่ากัน เป็นไปตามมติของคณะกรรมการค่าจ้างเคาะกันมา …นับเป็นการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในรอบ 2 ปี
มองย้อนกลับไปในอดีตประเทศไทย เคยปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศครั้งใหญ่สุดในปี 55-56 อัตราเดียวกันทั่วประเทศที่ 300 บาทต่อวัน ที่เรียกเสียงฮือฮาทุกหย่อมหญ้า!!! ฝั่งแรงงานดีใจกันทั่วหน้า แต่ฝั่งผู้ประกอบการร้องระงมอย่างหนัก ทำให้เจ้าของธุรกิจต้องเข็ดขยาด เมื่อเลือกตั้งทีไรแทบทุกพรรคการเมืองจะหยิบยกเรื่องขึ้น “ค่าแรง” มาเป็นประเด็นหาเสียงทุกครั้ง!!!
ค่าแรงขึ้นไม่ทันของแพง
ทำให้ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปี (ปี 55-64) ค่าจ้างขั้นต่ำของไทยปรับขึ้นอยู่ที่ 13-36 บาท หรือคิดเป็น 4-12% ก่อนที่จะไม่มีการปรับในปี 63-64 ขณะที่ดัชนีเงินเฟ้อ 10 ปี ปรับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 6.3% ซึ่งในส่วนของดัชนีอาหารสำเร็จรูป หรืออาหารบริโภคในบ้านและนอกบ้าน ปรับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 14% ทำให้ล่าสุดค่าแรงงานไทยสูงสุดอยู่ในอันดับ 3 ของอาเซียน รองจากสิงคโปร์ ค่าแรงเฉลี่ย 1,423 บาทต่อวัน บรูไน เฉลี่ย 664 บาทต่อวัน ที่ผ่านมารัฐบาลได้ประกาศค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานไทย มีผลบังคับใช้ไปตั้งแต่ 1 ก.ย. ที่ผ่านมา กลุ่มสาขาอาชีพช่างก่อสร้าง 5 สาขา อัตราเฉลี่ย 450-650 บาท กลุ่มอาชีพช่างอุตสาหกรรมศิลป์ 4 สาขา 430-650 บาท กลุ่มอาชีพบริการ 7 สาขา 400-650 บาท
ขึ้นค่าแรงกระทบสินค้าต่างกันคำพูดจาก ว็บสล็อตต่างประเทศ
เมื่อมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ สิ่งที่หลายคนกังวล หนีไม่พ้นเรื่องราคาสินค้า จะยิ่งใช้เป็นข้ออ้างเรื่องต้นทุนแห่ปรับขึ้นราคาตามหรือไม่!!! เพราะทุกวันนี้แทบเรียกได้ว่า ค่าจ้างแรงงานที่ปรับขึ้นเฉลี่ย 5.02% เมื่อเทียบกับเงินเฟ้อรอบล่าสุดเดือน ส.ค. ดีดไปสูงถึง 7.86% แทบไม่ได้รับประโยชน์อะไรมากนัก เรื่องนี้เอง ทางกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ในฐานะทำหน้าที่ดูแลราคาสินค้า ได้ติดตามดูแลผลกระทบต่อต้นทุนและราคาสินค้าจำเป็นอย่างใกล้ชิด “ยอมรับ” ว่าการขึ้นค่าแรง อาจทำให้ต้นทุนสินค้า “เพิ่มขึ้น” แต่เป็นต้นทุนเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่ต้นทุนทั้งหมด เพราะสินค้าแต่ละชนิดยังมีต้นทุนอีกหลายส่วนที่สำคัญ เช่น ต้นทุนวัตถุดิบ และต้นทุนพลังงาน ซึ่งมีผลต่อทั้งการผลิตและการขนส่งสินค้า
สำหรับการปรับขึ้นค่าแรง จะมีสัดส่วนกระทบต่อสินค้า แต่ละประเภทมากน้อยแตกต่างกัน เนื่องจากสินค้าแต่ละอย่างมีกระบวนการผลิตที่ต่างกันไป บางประเภทใช้เครื่องจักรผลิตเป็นหลัก ขณะที่บางประเภทก็ใช้แรงงานเยอะ ทางกรมฯ ได้ติดตามดูอยู่ใกล้ชิด และ “ยืนยัน”ว่า ขณะนี้ ยังไม่มีสินค้ารายการใดขึ้นราคา หรือขอยื่นปรับราคาเข้ามา จากผลกระทบค่าแรง อีกทั้งการขึ้นราคาสินค้าควบคุมหลายรายการ จำเป็นต้องแจ้งหรือขออนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ก่อน หากสินค้ารายการใด ได้รับผลกระทบ คงไม่ได้ปรับขึ้นราคาหลังวันที่ 1 ต.ค.นี้ ทันที เนื่องจากสินค้าทุกชนิดยังมีสต๊อกต้นทุนเก่าอยู่ด้วย จึงอาจต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งไปในช่วงปลายปี หรือต้นปีหน้า
เร่งตรวจเข้มราคาสินค้า
แต่เพื่อเป็นการป้องปรามไม่ให้ผู้ประกอบการ ฉวยโอกาสนำการปรับค่าแรงมาเป็นข้ออ้างในการขึ้นราคาสินค้าตอนนี้ “กรมการค้าภายใน” ได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกสำรวจสถานการณ์ทุกวัน พร้อมมีมาตรการดูแล ทั้งมาตรการทางกฎหมาย เช่น การกำหนดให้ปิดป้ายแสดงราคาอย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับทราบก่อนตัดสินซื้อ รวมถึงห้ามจำหน่ายในราคาแพงเกินสมควร หากพบใครขึ้นราคาสินค้าโดยไม่มีเหตุผล มีโทษจำคุกสูงสุด 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 1.4 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
ค่าแรงฉุดกำไรลด 5-15%
เบื้องต้นอาจมีกำไรลดลงมากกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม หรือลดลง 5-15% ขึ้นอยู่กับความยืดหยุ่นในการปรับตัวและความสามารถในการแข่งขันในตลาดของแต่ละธุรกิจ ทั้งนี้ ในความเป็นจริง ผู้ประกอบการต้องเผชิญกับต้นทุนที่ปรับขึ้นหลายด้าน แต่อาจสามารถขยับราคาสินค้าขึ้นได้จำกัด ซึ่งตัวเลขข้างต้น เป็นการวิเคราะห์ผลกระทบเบื้องต้นโดยเน้นไปที่ต้นทุนแรงงาน ภายใต้สมมุติฐานว่าปัจจัยอื่นๆ ที่เหลือคงที่ และกำไรจะลดลงหากธุรกิจไม่สามารถขยับราคาขายได้
เสียงสะท้อนมุมมองด้านต่าง ๆ ของผู้ที่ได้รับผลกระทบตรง “เกรียงไกร เธียรนุกุล” ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ซึ่งดูแล 45 กลุ่มอุตสาหกรรม มองว่า การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำครั้งนี้ เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่าเศรษฐกิจยังไม่ดี ต้นทุน
ต่าง ๆ ของผู้ประกอบการก็สูงขึ้นทุกด้าน ก็เข้าใจได้ว่า เพื่อช่วยให้ลูกจ้าง พนักงานมีรายได้เพิ่มขึ้น จากเงินเฟ้อที่ปรับขึ้นสูงมาก
ขณะที่ปัจจุบันผู้ประกอบการในภาพรวม มีภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอยู่แล้วทั้งค่าน้ำมัน พลังงาน โลจิสติกส์ และค่าไฟฟ้ารอบใหม่ (ก.ย.-ธ.ค.) ปรับเพิ่มขึ้น รวมถึงทิศทางดอกเบี้ยที่เตรียมปรับขึ้น จะทำให้มีภาระต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้นสำหรับผู้ที่ยังเป็นหนี้ อยากให้ภาครัฐช่วยในด้านต่าง ๆ เช่น ชะลอการปรับขึ้นค่าไฟฟ้า หรือให้เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ขึ้นแรง การดูแลราคาน้ำมันดีเซลต่อไป
ผู้บริโภคหนีไม่พ้นเดือดร้อน
ด้าน “วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา” รองประธานกรรมการหอการค้าไทย ระบุว่า เอกชนได้ติดตามเรื่องต้นทุนต่าง ๆ ต่อเนื่อง ซึ่งการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเพิ่ม ส่งผลต่อธุรกิจแตกต่างกันไป โดยธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากเป็นธุรกิจที่ใช้แรงงานสูง แต่บางธุรกิจมีการปรับตัวมาบ้างแล้ว การใช้เครื่องจักรทดแทน อาจได้รับผลกระทบน้อย ซึ่งอยู่ที่ความสามารถในการปรับตัวของผู้ผลิตธุรกิจที่ปรับตัวไม่ได้แต่ตลาดต้องการสินค้านั้นแล้วคู่แข่งมีจำนวนน้อยก็ยังเป็นเรื่องของการขึ้นราคาสินค้าเป็นหลักแต่ถ้าธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงที่มีทั้งรายเล็กและรายใหญ่กำลังแข่งขันกันมีโอกาสที่รายเล็กรายย่อยจะล้มหาย
สำหรับอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร ที่ส่วนใหญ่ยังใช้แรงงานในการผลิตเริ่มตั้งแต่ต้นทางเรื่องการทำเกษตรในการแปรรูปอาหารจะมีสินค้าบางรายการที่จำเป็นต้องใช้แรงงานเช่นพืชผักผลไม้หรือปศุสัตว์ ที่ยังไม่สามารถหาเครื่องจักรทดแทนได้ 100% กลุ่มนี้ยังต้องมีต้นทุนเพิ่มขึ้นอีกด้าน เมื่อแบกภาระต้นทุนสูงขึ้นผู้ประกอบการก็จำเป็นต้องปรับราคาสินค้า สุดท้ายก็จะตกไปถึงผู้บริโภค
เปิดธุรกิจรับผลกระทบสูงสุด
“ธนิต โสรัตน์” รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย มองว่า กลุ่มธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงงานมากที่สุด คือ ธุรกิจเกษตร-เกษตรแปรรูป, อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารพื้นฐาน, ธุรกิจก่อสร้าง, โรงแรมและที่พัก, ร้านอาหาร, โลจิสติกส์, อุตสาหกรรมรับจ้างการผลิต, โรงงานสิ่งทอ, โรงงานทำเครื่องหนังต่าง ๆ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ใช้แรงงานเข้มข้น หรือที่ใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก ซึ่งผู้ประกอบการต้องเร่งหาวิธีการปรับตัว หรือเอาตัวรอดอย่างเร่งด่วน เช่น การเพิ่มทักษะ นำกระบวน การผลิตให้กระชับ ลดขั้นตอนคอขวดต่าง ๆ ให้งานไม่สะดุด รวมถึงให้มีส่วนสูญเสียในการผลิตต่ำที่สุด รวมถึงนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ลดจำนวนแรงงาน เพื่อเพิ่มผลิตภาพแรงงานต่อรายได้
ดึงเทคโนโลยีลดต้นทุน
นอกจากนี้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ควรนำเทคโนโลยีง่าย ๆ ราคาไม่สูงมาใช้ เช่น การนำระบบสายพานลำเลียงหรือคอนเวย์เยอร์ ซึ่งมีตั้งแต่ระบบพื้นฐานแบบลูกกลิ้งไปจนถึงระบบออโตเมชัน, เครื่องแพ็กกิ้ง-บรรจุภัณฑ์ ประเภทต่าง ๆ, การใช้แขนกลอัตโนมัติ เป็นโรบอตประเภทหนึ่ง มีตั้งแต่ราคาประมาณ 500,000 ถึงหลายล้านบาท ซึ่งเทคโนโลยีปัจจุบันราคาถูกลงมาก เป็นทางเลือกหนึ่ง ลดการใช้แทนกำลังคน และลดผลกระทบต่อการขาดแคลนแรงงานไร้ทักษะที่ไทยกำลังประสบปัญหาขาดแคลนมาก ขณะเดียวกันผู้ประกอบการต้องพัฒนาสินค้าให้มีมูลค่าเพิ่มเพื่อหลีกหนีตลาดล่างที่จะแข่งขันราคารุนแรง และใช้ดิจิทัลเป็นช่องทางเพิ่มการจำหน่ายคำพูดจาก PG SLOT สล็อตเว็บตรง
วงวิชาการชี้บิดเบือนตลาด
ส่วนมุมมองกลุ่มค้าปลีกรายย่อย อย่าง “สมชาย พรรัตนเจริญ” นายกสมาคมค้าส่งและค้าปลีกไทย ระบุว่า เรื่องของการปรับขึ้นค่าแรงนั้นหากมองในมุมของนายจ้างก็ไม่อยากให้ปรับ แต่ในมุมลูกแรงงานก็มีความจำเป็นที่จะต้องปรับขึ้นเพื่อให้เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายสินค้าที่ปรับขึ้นราคา ขณะที่ภาครัฐหากเพิ่มค่าแรงแล้วก็ต้องเพิ่มทักษะแรงงานด้วย เพราะปัจจุบันทักษะแรงงานไทยเริ่มต่ำลง หลังจากที่ภาครัฐใส่เงินเข้ามาในระบบแต่ไม่ได้สร้างเหตุจูงใจในการเพิ่มทักษะการทำงาน ฉะนั้นหลังจากนี้รัฐบาลต้องเปลี่ยนมุมมองใหม่ เพราะการเติมเงินเข้าไปทำให้ศักยภาพแรงงานด้อยลง อีกทั้งต้องมองถึงระบบการศึกษา และการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศก็อย่าตั้งเป้านานไปถึง 20 ปี จะต้องมองปีต่อปี และทำอย่างไรให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันได้ รวมไปถึงต้องดูว่าไทยเรามีศักยภาพหรือจุดแข็งอะไรบ้าง เพื่อใช้ต่อรองกับคู่ค้าไม่ใช่จะขายแค่แรงงานอย่างเดียว
ขณะที่ ฝ่ายวิชาการ “กิริยา กุลกลการ” อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) มองว่า การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ไม่ใช่ตัวเลือกเพิ่มคุณภาพชีวิตให้คนในประเทศ รวมถึงไม่ใช่เรื่องที่ยั่งยืนสำหรับการพัฒนา แท้จริงแล้วคนทั้งประเทศควรได้รับค่าจ้างที่สูงกว่าระดับค่าจ้างขั้นต่ำ เพราะค่าจ้างขั้นต่ำ นอกจากจะไม่พอสำหรับการมีเป็นอยู่ที่ดีแล้ว ในทางเศรษฐศาสตร์ยังถือเป็นการบิดเบือนตลาด ทำให้ประสิทธิภาพของตลาดลดลง
ฉะนั้นไทยเราควรมุ่งไปสู่การมีค่าแรงที่สูงเพียงพอต่อการยังชีพ และเป็นค่าแรงที่กำหนดขึ้นตามกลไกราคา ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการให้แรงงานมีศักยภาพที่เพิ่มขึ้น มีการใช้ทักษะที่สอดคล้องกับโลกยุคใหม่ ซึ่งเทคโนโลยีก้าวหน้ามากขึ้น ผ่านการสร้างช่องทางที่เอื้อต่อการศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมให้กับแรงงาน ทางฝั่งธุรกิจ จำเป็นต้องยกระดับตนเอง เพิ่มการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีคุณภาพสูงขึ้น ทำให้สินค้าที่ผลิตออกมามีมูลค่าเพิ่มขึ้น พร้อม ๆ กับพัฒนาทักษะให้แรงงาน สัดส่วนค่าจ้างที่แรงงานจะได้รับก็จะสูงขึ้น
สร้างแพลตฟอร์มตลาดแรงงาน
สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและตลาดแรงงาน รัฐควรสนับสนุนการรวมกลุ่มของแรงงาน เช่น สหภาพแรงงงาน เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองให้กับแรงงานแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร รวมถึงรัฐต้องสร้างแพลตฟอร์มที่ให้ข้อมูลด้านตลาดแรงงาน เพื่อสร้างทางที่จะนำแรงงานไปสู่อาชีพและทักษะที่ตลาดต้องการ ซึ่งในโลกที่ไม่แน่นอน คาดเดายาก และเปลี่ยนแปลงเร็ว แพลตฟอร์มนี้ยิ่งทวีความสำคัญ ส่วนโครงสร้างเศรษฐกิจ ต้องแก้ไขการแข่งขันที่ผูกขาด โปร่งใสไม่คอร์รัปชั่น เหล่านี้ต่างช่วยให้ศักยภาพของแรงงานและเศรษฐกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เปิดข้อเสนอเอกชนส่งถึงรัฐบาล
ณ เวลานี้ สิ่งที่ภาคเอกชน ต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือ หากมีการปรับค่าแรงขั้นต่ำเพื่อช่วยลดต้นทุนผู้ประกอบการการ 1.ขอให้ช่วยสนับสนุนด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ใช้ในการผลิต 2.ส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือก เช่น การนำโซลาร์รูฟท็อปมาใช้ในโรงงงานอุตสาหกรรม 3.การเข้าถึงแหล่งทุนก็สำคัญเนื่องจากการจะได้มาเรื่องของอุปกรณ์ต่าง ๆ ต้องมีเงินทุนเข้ามาช่วย อีกทั้งรัฐต้องหาวิธีการอำนวยความสะดวกเรื่องการทำธุรกิจมากที่สุดเช่นระบบเนชั่นแนลซิงเกิลวินโดว์ ที่เป็นระบบการบริการเชื่อมโยงข้อมูลหน่วยงานภาครัฐและภาคธุรกิจสำหรับการนำเข้าส่งออกและโลจิสติกส์โดยผู้ประกอบการลดขั้นตอน สามารถทำบนสมาร์ทโฟนได้เลยจะช่วยลดต้นทุนผู้ประกอบธุรกิจได้อีกมาก
ต้องยอมรับว่า ประเด็นแรงงาน นับจากนี้จะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะโครงสร้างประชากรไทย จะเริ่มมีจำนวนลดลง และแรงงานมีอายุมากขึ้น หรือเป็นสังคมสูงวัยสุดยอด ในอีกไม่ถึง 10 ปีข้างหน้า ดังนั้นสิ่งสำคัญต้องเร่งเพิ่มผลิตภาพแรงงาน ปรับกระบวนการผลิต เป็นโจทย์สำคัญที่ภาคอุตสาหกรรม ต้องเร่งดำเนินการตั้งแต่ตอนนี้ เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน อยู่รอดได้ท่ามกลางสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนรวดเร็ว และซับซ้อนขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาการเพิ่มขึ้นของผลิตภาพแรงงานในอุตสาหกรรมไทยยังมีความไม่เท่ากัน และในระดับประเทศถือว่า เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าเวียดนาม ถ้ายิ่งช้า ปัญหาค่าแรงซ้ำซาก.
…ทีมเศรษฐกิจ…